ในปี พ.ศ. 2521 ขณะที่อุตสาหกรรมไทยมีการขยายตัวอย่างกว้างขวาง งานเชื่อมโลหะเริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้น แต่ขณะนั้นยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้และทักษะอย่างแท้จริงในงานเชื่อม ชมรมพัฒนาการเชื่อมโลหะ โดย ร.อ.สรชัย สรรเสริญ ดำรงตำแหน่งประธานชมรมในขณะนั้น ได้เริ่มหาสมาชิกโดยการโฆษณาให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของชมรม ตลอดจนจัดให้มีการบรรยายทางวิชาการในด้านงานเชื่อม จนในที่สุดชมรมเริ่มมีชื่อเสียเป็นที่รู้จักแพร่หลาย
ในปี พ.ศ. 2522 ทางชมรมได้รับเกียรติร่วมเป็นกรรมการในการตัดสินการแข่งขันช่างเชื่อมฝีมือประจำปี ซึ่งในขณะเดียวกันนี้ชมรมได้รับการสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรม ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของทางชมรม จนทำให้สมาชิกเพิ่มขึ้นตลอดเวลา และด้วยเหตุนี้จึงได้ก่อตั้งเป็น
สมาคมการเชื่อมโลหะ ขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2524 เพื่อรองรับจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นภายใต้การดูแลของ ร.อ.สรชัย สรรเสริญ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกสมาคมในขณะนั้น
ในปี พ.ศ. 2533-2537 โดยมี ดร.ศิวะ พงศ์พิพัฒน์ เป็นนายกสมาคมอยู่ในขณะนั้น สมาคมการเชื่อมโลหะได้พัฒนาขึ้นมาก ซึ่งเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมงานเชื่อมกำลังขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจำนวนสมาชิกของสมาคมเพิ่มขึ้น ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงที่ขยายชื่อเสียงของสมาคมให้
เป็นที่รู้จักในอุตสาหกรรม
ในปี พ.ศ. 2538 2541 สมาคมการเชื่อมโลหะโดยการนำของรองศาสตราจารย์ บรรเลง ศรนิล ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคม และได้ดำเนินการบริหารสมาคมโดยการสร้างชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศโดยร่วมมือกับสมาคมการเชื่อมในต่างประเทศเพื่อนำวิธีการใหม่ ๆ มาปรับปรุงในอุตสาหกรรมประเทศไทย ทั้งนี้ยังเป็นการช่วยส่งเสริมให้สมาคมการเชื่อมโลหะมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับยิ่งขึ้น
ในปี พ.ศ. 2542 2547 นายกสมาคมคือ ผศ.ยุคล จุลอุภัย ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้ทางสมาคมได้ย้ายสถานที่ทำการของสมาคมมาอยู่ที่ เลขที่ 33/69 ซอยนวมินทร์ 141 ถ.นวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230 โดยได้รับความสนับสนุนจาก นายสมพร พงศ์ขจร (กรรมการบริหาร บริษัทอัลลายด์เทค ประเทศไทย จำกัด) ให้ใช้อาคารสถานที่ดังกล่าวเป็นที่ทำการของสมาคม
และในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2543 โดยการดำเนินงานของนางสาวสุพัตตา พฤทธิ์ธนาศํกดิ์ (ผู้จัดการสมาคม) ได้ดำเนินการจดทะเบียนเพื่อขออนุญาตใช้คำต่อท้ายชื่อสมาคมเป็น แห่งประเทศไทย และได้รับการอนุมัติให้ใช้คำว่า สมาคมการเชื่อมโลหะแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2543 เป็นต้นไป
ในปี พ.ศ.2548 2559 นายสุชิน คธาวุธ ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมการเชื่อมโลหะแห่งประเทศไทย ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้ทางสมาคม ได้มีการขยายความร่วมมือไปยังกลุ่มชาติสมาชิกต่างประเทศ โดยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก AWF (Asian Welding Federation) อีกทั้งยังมีโครงการความร่วมมือระหว่างสมาคมการเชื่อมโลหะแห่งประเทศไทย (TWS) กับ สมาคมวิศวกรรมการเชื่อมแห่งประเทศญี่ปุ่น (JWES) ในการจัดฝึกอบรมหลักสูตร วิศวกรการเชื่อม" (Welding Engineer)
ในปี พ.ศ. 2557 โดยดำเนินการของนางสาวสุพัตตา พฤทธิ์ธนาศักดิ์(ผู้จัดการสมาคม) ได้เปลีืยนชื่อสมาคมการเชื่อมโลหะแห่งประเทศไทย เป็น "สมาคมการเชื่อมโลหะและการตรวจสอบแห่งประเทศไทย" ได้รับการอนุมัติจากกรมการปกครอง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2557 โดยเหตุผลในการเปลี่ยนชื่อสมาคมครั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานและภาระกิจงานของสมาคมในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2558 สมาคมการเชื่อมโลหะและการตรวจสอบแห่งประเทศไทย(TWS) ได้ลงนามใน Memorandum of Understanding (MOU) กับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกันพัฒนาบุคลากรในสาขางานเชื่อมตั้งแต่ระดับ ช่างเชื่อม, ผู้ตรวจสอบงานเชื่อม และ วิศวกรการเชื่อม เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามข้อกำหนดของ Code และมาตรฐานสากล
และในช่วงระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 สมาคมการเชื่อมโลหะและการตรวจสอบแห่งประเทศไทย (TWS) ได้ลงนามใน Memorandum of Understanding(MOU) สมาคมการเชื่อมโลหะแห่งประเทศเยอรมันนี (The Deutscher Verband fur SchweiBen und verwandte Verfahren e.V. (DVS)) เพื่อร่วมกันพัฒนางานเชื่อมในประเทศไทยให้ก้าวหน้าทับเทียมต่างประเทศ ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้ถือได้ว่าสมาคมการเชื่อมโลหะและการตรวจสอบแห่งประเทศไทย(TWS) ประสบความสำเร็จจนได้เป็นที่รู้จักและได้การยอมรับจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก
ในปี พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน นายสมพร พงศ์ขจร ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมการเชื่อมโลหะและการตรวจสอบแห่ง
ประเทศไทย ซึ่งในช่วงระเวลานี้ทางสมาคมได้เป็นที่ยอมรับในภาคอุตสาหกรรม โดยทางสมาคมได้ให้บริการงานด้านอบรม
และทดสอบช่างเชื่อมให้กับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะบริษัทที่ต้องการมีมาตรฐานงานเชื่อมที่ดำเนินงานอย่างถูกต้องตามข้อ
กำหนดของ Code และการรับบริการจัดทำ WPS PQR ทางสมาคมได้ให้บริการให้กับบริษัทต่างๆ ภายใต้มาตรฐาน
ตามที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งงาน WPS, PQR ส่วนใหญ่ลูกค้าต้องส่งไปต่างประเทศ